แนะนำ/ศึกษา วัตถุมงคล
หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน จ.นนทบุรี ประวัติของหลวงพ่อสุ่นไม่เป็นที่กระจ่างนัก เล่ากันว่าท่านชื่อ สุ่น นามสกุล ปานกล่ำ เป็นชาวปากเกร็ดโดยกำเนิด เมื่อประมาณ พ.ศ.2435 บวชแล้วได้ฉายาว่า จันทโชติ แปลว่า รุ่งเรืองดุจจันทร์เพ็ญ ไม่ปรากฏนามพระอุปัชฌาย์อาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน และด้วยศีลาจารวัตรของท่านทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาตั้งแต่พรรษาต้นๆ ที่ยังเป็นพระลูกวัดอยู่ ดังนั้น เมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพลง ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อ ท่านก็ได้พัฒนาและบูรณปฏิสังขรณ์วัดจนเจริญรุ่งเรืองสืบมา ย้อนไปเมื่อครั้งที่หลวงพ่อสุ่นยังเป็นพระลูกวัด ท่านได้ปลูกต้นไม้ไว้ในบริเวณกุฏิ 2 ชนิด คือ ต้นรักและต้นพุดซ้อน และหมั่นดูแลรดน้ำโดยนำน้ำสะอาดมาทำเป็นน้ำมนต์เพื่อรดต้นไม้ทั้งสองทุกครั้งจนเจริญเติบโต กระทั่งเมื่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส จึงเข้าใจกระจ่างว่า เหตุใดท่านจึงให้ความสนใจดูแลต้นไม้ทั้งสองนี้เป็นพิเศษ เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตได้ที่ท่านจึงดูฤกษ์ยามทำพิธีพลีและสังเวยก่อนแล้วลงมือขุดด้วยตัวเอง จากนั้นนำไปตากแดดจนแห้ง แล้วให้ช่างแกะเป็นรูปหนุมานจนหมด รวบรวมห่อด้วยผ้าขาวใส่บาตรเพื่อปลุกเสกในกุฏิ จนถึงวันเสาร์ซึ่งถือว่าเป็นวันแรง ท่านก็จะเข้าไปปลุกเสกในอุโบสถ จนครบกระบวนการ จึงเก็บไว้แจกจ่ายบรรดาลูกศิษย์และผู้ถวายปัจจัยในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัด ซึ่งนอกจากหนุมานแกะที่ทำจากต้นรักและต้นพุดซ้อนแล้ว หลวงพ่อสุ่นยังได้แกะหนุมานจากงาช้างด้วย แต่สร้างในรุ่นหลัง ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก และสนนราคาค่อนข้างสูง
บั้นปลายชีวิต เมื่อราว พ.ศ.2481- 2482 หลวงพ่อสุ่นมรณภาพ สิริอายุประมาณ 78 ปี ในวันประชุมเพลิงหลวงพ่อสุ่นเมื่อ พ.ศ.2489 หลวงพ่อกลิ่นมาเป็นเจ้าภาพด้วยตัวเอง
Luang Por Sun Wat Sala Kun
REVEREND FATHER SUN WAT SALA KUN, NONTHABURI PROVINCE, THE HISTORY OF LUANG PHO SUN IS NOT VERY CLEAR. IT IS SAID THAT HIS NAME IS SUN, HIS SURNAME IS PAN KLAM, A NATIVE OF PAK KRET, ABOUT 2435 B.E. CHANTHACHOT MEANS PROSPEROUS LIKE A FULL MOON THE PRECEPTOR'S NAME WAS NOT REVEALED.
ORDINATION AFTER BEING ORDAINED, HE STAYED AT WAT SALA KUN. AND WITH HIS PRECEPTS, HE HAS BEEN RESPECTING THE FAITH OF THE VILLAGERS SINCE THE EARLY YEARS. WHO IS STILL A MONK, SO WHEN THE ABBOT DIES DOWN THE VILLAGERS THEREFORE INVITED HIM TO TAKE THE POSITION OF THE ABBOT TO CONTINUE. HE DEVELOPED AND RESTORED THE TEMPLE UNTIL IT PROSPERED. GO BACK TO THE TIME WHEN LUANG PHO SUN WAS STILL A TEMPLE MONK. HE HAD PLANTED TWO TYPES OF TREES IN THE CLOISTER AREA: THE LOVE TREE AND THE GARDENIA TREE. AND TAKE CARE OF WATERING BY BRINGING CLEAN WATER TO MAKE HOLY WATER TO WATER BOTH PLANTS EVERY TIME UNTIL THEY GROW. UNTIL WHEN HE RECEIVED THE POSITION OF ABBOT THEREFORE CLEARLY UNDERSTAND THAT WHY DID YOU PAY SPECIAL ATTENTION TO THESE TWO PLANTS? WHEN THE TREE GROWS, HE THEN LOOKS AT THE AUSPICIOUS TIME OF SACRIFICING AND SACRIFICING AND DIGGING BY HIMSELF. THEN PUT IT IN THE SUN UNTIL DRY. AND HAD THE CRAFTSMAN CARVE THE ENTIRE IMAGE OF HANUMAN. GATHER WRAPPED IN WHITE CLOTH AND PUT IN AN ALMS BOWL TO CONSECRATE IN THE CUBICLE. UNTIL SATURDAY, WHICH IS CONSIDERED A STRONG DAY HE WILL GO TO CONSECRATE IN THE TEMPLE. UNTIL THE END OF THE PROCESS THEREFORE KEPT IT FOR DISTRIBUTION AMONG THE DISCIPLES AND DONORS WHO CONTRIBUTED TO THE RESTORATION OF THE TEMPLE. IN ADDITION TO THE HANUMAN CARVED FROM THE LOVE TREE AND THE GARDENIA TREE. REVEREND FATHER SUN ALSO CARVED HANUMAN FROM IVORY. BUT BUILT IN LATER VERSIONS RARELY SEE EACH OTHER AND THE PRICE IS QUITE HIGH
END OF LIFE AROUND 2481-2482, LUANG PHO SUN PASSED AWAY. SIRI IS ABOUT 78 YEARS OLD. ON THE DAY OF THE REVEREND FATHER SUN CREMATION MEETING IN 2489, REVEREND FATHER KLIN HIMSELF CAME AS THE HOST.
หนุมาร เนื้อไม้แกะ หน้ากระบี่
หนุมารเนื้อไม้แกะ หน้าโขน