Menu

SPP-Amulet
(Guru Monk).

แนะนำ/ศึกษา วัตถุมงคล


พระกรุวัดคูยางจังหวัดกำแพงเพชร  

หลวงพ่อแพ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2448 ณ บ้านสวนกล้วย ตำบลถอนสมอ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี เป็นบุตรของนายเทียนและนางหน่าย ใจมั่นคง เมื่ออายุได้ 8 เดือน มารดาถึงแก่กรรม นายบุญและนางเพียร ขำวิบูลย์ จึงรับไปเป็นบุตรบุญธรรม เมื่ออายุได้ 11 ปี ท่านมาศึกษาอักษรขอมกับพระอาจารย์สมที่วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร จนอายุ 16 ปีจึงกลับสิงห์บุรีเพื่อบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดพิกุลทอง แล้วกลับมาศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่วัดชนะสงคราม จนสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค แต่ตาอักเสบเนื่องจากหักโหมดูหนังสือ จึงหันไปศึกษากรรมฐานที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร แล้วอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2469 โดยมีพระมงคลทิพมุนี (มุ้ย ปณฑิโต) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "เขมงฺกโร" แล้วกลับไปจำพรรษาที่วัดชนะสงครามพระกรุวัดคูยาง กำแพงเพชร และ พระกรุวัดคุ้งยางใหญ่ สุโขทัย ผู้สร้างพระกรุวัดคูยางคืออาจารย์ ( กลึง ) อดีตเจ้าอาวาส ฯ สร้างบรรจุไว้ในเจดีย์ เมื่อปี 2444 เปิดกรุเมื่อปี 2513 พบพระที่เหลือจากการถูกโขมยเจาะกรุประมาณ 3,000 กว่าองค์ จำนวน 40 กว่าพิมพ์ เป็นเนื้อพระกรุเก่าผสมผงสมเด็จ (โต) และผงพระพุทธบาท ปิลันธน์นำมารวมผสมตอนสร้างด้วย ส่วนพระกรุวัดคุ้งยางใหญ่ สุโขทัย สมเด็จ (โต) สร้างเป็นพิมพ์สมเด็จที่กำแพงเพชรเมื่อปี 2329 ด้วยเนื้อ “ดินผสมผง” ประมาณ 84,000 องค์ มีผู้นำมาบรรจุไว้ที่พระเจดีย์วัดคุ้งยางใหญ่ ต่อมาปี 2442 หลวงปู่แป๊ะ อดีตเจ้าอาวาสวัดคู้งยางใหญ่ ได้สร้างพระพิมพ์ต่าง ๆ ขึ้นอีก 84,000 องค์นำบรรจุร่วมกับพระของสมเด็จ (โต) เปิดกรุเมื่อปี 2523

ประวัติการสร้าง พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ผู้สร้างพระต่างๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ในราว พ.ศ. ๒๔๔๔ ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ พระยาตะก่า ได้ขออนุญาตบูรณะเจดีย์วัดพระบรมธาตุ นครชุม โดยรวมเจดีย์ทั้ง ๓ องค์ ให้เหลือเพียงองค์เดียวแต่ใหญ่ขึ้นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันและในการบูรณะครั้งนั้น น่าจะมีพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นผู้ปกครองวัดและพระสงฆ์สามเณรในจังหวัดนี้เป็นแม่กองงานบูรณะฝ่ายสงฆ์ด้วย ฉะนั้นในการสร้างพระบรรจุที่กรุวัดคูยางของท่าน ส่วนหนึ่งได้นำพระกรุเก่าที่ชำรุดจากเจดีย์วัดพระบรมธาตุมาซ่อมแล้วบรรจุไว้ด้วย นอกจากนี้ในการสร้างพระของท่าน มีหลักฐานเชื่อได้ว่าได้นำผงพระพุทธคุณของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และผงพระพุทธบาทปิลันธน์ผสมลงไปด้วย โดยพิสูจน์ได้จากพระกรุวัดคูยางบางองค์ที่หักชำรุดจะเห็นผงสีขาว บางองค์มีผงใบลานเผาปนอยู่ด้วยและบางองค์ยังมีไขคล้ายพระของพระพุทธบาทปิลันธน์อยู่บ้าง ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ พระที่หักชำรุดมีผงสีขาวปรากฏให้เห็นนั้น มักเป็นองค์ที่ไม่มีคราบราว่านหรือมีเพียงบางๆ แต่พระส่วนใหญ่จะมีคราบราว่านสีดำปนน้ำตาลแก่จับหนาแน่นไม่แพ้กรุเก่าเมืองกำแพงเพชรเลย เพียงแต่เนื้อพระดูจะสดกว่าหน่อยเท่านั้น เนื้อพระกรุเก่าของวัดคูยางนี้ จะใกล้เคียงกับเนื้อพระกรุวัดคุ้งยางใหญ่ ่จังหวัดสุโขทัย เช่น พิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมล้อพิมพ์สมเด็จ เนื้อและคราบราจะคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันก็แต่กรุวัดคุ้งยางใหญ่ จะมีจารอักขระด้านหลังด้วยถ้าไม่มีจารก็แทบจะแยกไม่ออกว่าเป็นกรุวัดไหน ฉะนั้นความแตกต่างก็จะอยู่ที่พิมพ์พระเป็นสำคัญ แต่ก็มีบางพิมพ์ที่คล้ายกันมากทั้งเนื้อและพิมพ์ก็คือพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ซึ่งล้อพิมพ์สมเด็จพระพุทธบาทปิลันธน์ เพียงแต่จะเล็กหรือใหญ่กว่ากันบ้างเพราะไม่ได้ใช้พิมพ์เดียวกัน


Phra Kru Wat Khu Yang, Kamphaeng Phet and Phra Kru Wat Kung Yang Yai, Sukhothai. The creator of the amulets at Ku Yang Temple was Ajahn (Klueng), a former abbot. He built them and placed them in the chedi in 1901. The crypt was opened in 1970. About 3,000 amulets remaining from the crypt were stolen, over 40 of which were made from amulets. The old one was mixed with Somdej powder (To) and Phra Buddha's footprint powder. Pilant was also mixed when making it. As for the Phra Kru Wat Kung Yang Yai, Sukhothai, Somdet (To) was made in the form of Somdej at





พระสมเด็จวัดคู้ยางใหญ่    




พระกรุวัดคู้ยาง (คูยาง) จ.กำแพงเพชร พิมพ์พระปิลันทน์